ทุกคนคงจะชินตากับ สีตีเส้นจราจร สีทาขอบฟุตบาท ทางม้าลาย หรือลานจอดรถ กันเป็นอย่างดีใช่มั้ยครับ แต่เคยสงสัยมั้ยครับว่า ทำไมสีที่ใช้ทาพื้นที่เหล่านี้ ที่มีรถสัญจรตลอดเวลา แต่สีก็ยังคงสภาพเดิมอยู่
แน่นอนครับว่า สีทาถนน ผลิตจากอะคริลิก เรซิ่น และคลอริเนเตด รับเบอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยึดเกาะ ทนต่อทุกสภาพอากาศ ที่สำคัญคือทนภาวะกัดกร่อนจากน้ำเค็มได้เป็นอย่างดี สามารถใช้งานได้ทั้งงานภายในและงานภายนอก
สีทาถนนแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ สีทาถนนสะท้อนแสง และ สีทาถนนไม่สะท้อนแสง ซึ่ง 2 ประเภทนี้จะต่างกันตรงที่ สีทาถนนสะท้อนแสง เป็นสีทาถนนที่มีส่วนประกอบของลูกแก้วสะท้อนแสง เมื่อทาสีถนนไปแล้ว ฟิล์มสีบางส่วนจะหลุดลอกออกไป เนื่องจากเกิดการเสียดสีกับล้อรถยนต์จะทำให้เกิดการสะท้อนแสงได้ตลอดอายุการใช้งานของฟิล์มสี ช่วยให้มองเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเวลากลางคืน เหมาะสำหรับงานภายในและงานภายนอก
สีทาถนนมีทั้งหมด 4 เฉด คือ สีขาว สีดำ สีเหลือง สีแดง ซึ่งเป็นเฉดสีมาตรฐานตามแบบสากล เครื่องหมายจราจรเป็นสัญลักษณ์ที่ช่วยให้ผู้ใช้ยานพาหนะบนท้องถนน เดินทางร่วมกันได้อย่างปลอดภัย ซึ่งในแต่ละประเทศจะมีการกำหนดทางกฎหมายในการใช้สีทาถนนต่างกันไป ดังนั้นเพื่อความถูกต้องในการใช้งานควรศึกษาข้อกฎหมายให้ชัดเจนก่อนว่ามีข้อกำหนดใดบ้าง
การคำนวณจำนวนการใช้สีทาถนน
การคำนวณพื้นที่เบื้องต้น กว้าง x ยาว เช่น เส้นจราจรที่ต้องการทาสี กว้าง 0.15 เมตร ยาว 3 เมตร ทา 100 เส้น
จะได้สูตร : 0.15 x 3 x 100 = 45 ตารางเมตร
สีทาถนน 1 แกลลอน จะทาได้ 30 ตารางเมตร ต่อ 1 เที่ยว (โดยปกติจะทา 2 เที่ยว)
หากพื้นที่ 45 ตารางเมตร จะใช้สีทั้งหมด 3 แกลลอน (ทา 2 เที่ยว)
แนะนำให้ใช้คู่กับทินเนอร์ผสมเบอร์ R81 นะครับ
สรุปแล้ว สีทาถนน จัดอยู่ในกลุ่มสีที่มีความทนทานสูง ที่ต้องใช้กับงานเฉพาะเป็นหลัก การใช้งานแบบถูกวิธี จะทำให้คุณภาพของสีคงทนตามมาตรฐานนะครับ